INTERVIEW • SPECIAL INTERVIEW

Special Interview : กิตติพงศ์ กนกวิไลรัตน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ซิงเกอร์ประเทศไทย บุษบา กุลศิริธรรม กรรมการผู้จัดการ บมจ.เอสจี แคปปิตอล

กิตติพงศ์ กนกวิไลรัตน์

กรรมการผู้จัดการใหญ่

บมจ.ซิงเกอร์ประเทศไทย


บุษบา กุลศิริธรรม

กรรมการผู้จัดการ

บมจ.เอสจี แคปปิตอล


SG Capital เดินหน้าเข้าตลาดฯ

สืบทอด DNA กลุ่มซิงเกอร์

ตั้งเป้าพอร์ตสินเชื่อ 5 หมื่นล้านบาทในปี 69


SG Capital เดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์ รุกเดินหน้าขยายช่องทางใหม่ชูจุดแข็งใกล้ชิดลูกค้าในพื้นที่ พร้อมนำบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ  คาด First Trade ไตรมาส 4 ปี 65 ตั้งเป้าปี 69 พอร์ตสินเชื่อแตะ 5 หมื่นล้านบาท

“ซิงเกอร์เริ่มเข้ามาในประเทศไทยปีนี้เป็นปีที่ 133 ในช่วงแรกผลิตภัณฑ์ที่ขายและเริ่มให้ผ่อนคือ จักรเย็บผ้า และเริ่มมีกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าเข้ามาหลังจากมีการจัดตั้ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จึงอาจเรียกได้ว่า ซิงเกอร์เข้ามาพร้อมๆ กับความเจริญในประเทศ โดยเราเป็นแบรนด์แรกๆ ที่เริ่มปล่อยสินเชื่อให้ลูกค้าผ่อนได้ในยุคที่ไม่ได้มีข้อจำกัด หรือเงื่อนไขของธนาคารมากมาย นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ธุรกิจสินเชื่อ หรือเงินผ่อนเกิดคู่กับแบรนด์ซิงเกอร์” ภาพ - กิตติพงศ์

“หัวใจหลักในการบริหารสินเชื่อ คือต้องรู้ว่ารายได้เข้ามาจากทางไหน และจากการที่เราเป็นบริษัทลูกของซิงเกอร์ เราทำด้านสินเชื่อมานานทำให้มีฐานข้อมูลพอที่จะวิเคราะห์ได้ว่าอาชีพนี้มีรายได้ประมาณเท่าไหร่และจะเติบโตต่อไปได้แค่ไหน เราจะเป็นพี่เลี้ยงให้เขาเติบโตขึ้นทีละขั้น พนักงานขายของเราใกล้ชิด และมีความเข้าใจลูกค้ามากเพราะเป็นคนในพื้นที่ทั้งหมด ส่วนการอนุมัติสินเชื่อจะเข้ามาที่ส่วนกลางเพื่อปรับให้เหมาะสมกับความต้องการทางการเงินของลูกค้า” ภาพ-บุษบา       

 “ซิงเกอร์” แบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่คุ้นหูคนไทยเป็นอย่างดีเนื่องจากอยู่คู่กับประเทศไทยมากว่า 133 ปี เริ่มต้นจากการทำธุรกิจให้ผ่อนจักรเย็บผ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้า

ในปี 2555 ได้จัดตั้ง “SG Capital หรือ SGC” เพื่อแยกธุรกิจสินเชื่อออกให้ชัดเจน โดยได้เริ่มต้นจากให้เช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า จนกระทั่งปี 2560 เริ่มทำสินเชื่อรถทำเงิน ล่าสุดได้ยื่นคำขอเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เพื่อระดมทุนขยายธุรกิจ

 

อยู่คู่เมืองไทยมากว่า 133 ปี

เริ่มต้นจากให้ผ่อนจักรเย็บผ้า


กิตติพงศ์ กนกวิไลรัตน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ซิงเกอร์ประเทศไทยก่อตั้งมานานมากแล้ว ผลิตภัณฑ์ที่ขายตั้งแต่ดั้งเดิมคือจักรเย็บผ้า โดยในยุค 90 กว่าปีที่ผ่านมา กลุ่มซิงเกอร์ของทั้งโลกรวมถึงประเทศไทยได้มีการให้ผ่อนจักรเย็บผ้า ซึ่งสมัยนั้นเครื่องจักรเย็บผ้าหนึ่งหลัง ราคาประมาน 1,000 บาท ถือว่าแพงมาก แต่เนื่องจากจักรเย็บผ้าสามารถนำไปใช้ประกอบอาชีพได้ คนจึงสามารถผ่อนได้

ต่อมาหลังจากที่เริ่มมีการจัดตั้ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซิงเกอร์ประเทศไทย จึงได้ขยับมาทำธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเจาะกลุ่มตลาดเดิมคือเครื่องใช้ไฟฟ้าเงินผ่อน ซึ่งลักษณะการผ่อนในยุคนั้นคือสาขาของซิงเกอร์เป็นผู้ดูแลบัญชีของลูกค้าที่อยู่ในภูมิภาค จนประทั่งปี 2559-2560 ได้เริ่มมีการปรับเปลี่ยนนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้

“ซิงเกอร์เริ่มเข้ามาในประเทศไทยปีนี้เป็นปีที่ 133  ในช่วงแรกผลิตภัณฑ์ที่ขายและเริ่มให้ผ่อนคือจักรเย็บผ้าและเริ่มมีกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าเข้ามา หลังจากมีการจัดตั้ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จึงอาจเรียกได้ว่าซิงเกอร์เข้ามามาพร้อมๆ กับความเจริญในประเทศ โดยเราเป็นแบรนด์แรก ๆ ที่เริ่มปล่อยให้ลูกค้าผ่อนได้ในยุคที่ไม่ได้มีกฎเกณฑ์ หรือเงื่อนไขของธนาคารมากมาย นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ธุรกิจเงินผ่อนเกิดคู่กับแบรนด์ซิงเกอร์”

ปัจจุบัน สินค้าของซิงเกอร์มีความหลากหลายมากขึ้น ได้แก่ สินค้าที่ใช้ภายในบ้าน เช่น เครื่องปรับอากาศ โทรทัศน์ เครื่องซักผ้า และสินค้าเชิงพาณิชย์ เช่น ตู้แช่ ตู้น้ำมันหยอดเหรียญ เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ รวมถึงกลุ่มสินค้าชิ้นเล็ก เช่น กระติกน้ำ หม้อหุงข้าว พัดลม ที่เริ่มมีการขยายเพิ่มมากขึ้น โดยสาเหตุที่สามารถขยายกลุ่มสินค้าให้กว้างขึ้น เพื่อให้ลูกค้าสามารถผ่อนซื้อสินค้าได้ และมีทีมขายที่เดินเข้าไปพบลูกค้าโดยตรง ซึ่งปัจจุบันซิงเกอร์มีพนักงานขายประมาณ 5,000 คน

“ปัจจุบัน ซิงเกอร์ได้มีการใช้ระบบดิจิทัลเข้ามามีส่วนช่วยในการทำงานของพนักงานขาย จากเดิมที่เป็นลักษณะของการขายตรง เป็นการติดอาวุธให้พนักงานขายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และเป็นการลดช่องโหว่ในการประพฤติไม่ดีของพนักงาน”

ด้านการใช้ระบบดิจิทัลเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าปัจจุบันพบว่า ตลาดกลุ่มลูกค้าออนไลน์มีมากขึ้น โดยนอกจากลูกค้าที่เป็นกลุ่มรากหญ้าในท้องถิ่นแล้ว ยังมีสัดส่วนของลูกค้ากลุ่มใหม่ที่ต้องการสินค้าหลากหลายเพิ่มมากขึ้น เช่น สมาร์ตโฟน สมาร์ตทีวี ดังนั้น ซิงเกอร์ต้องขยายผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ลูกค้ารุ่นใหม่และคนในเมืองมากขึ้น นอกจากนี้ สิ่งสำคัญคือ ต้องมีการขายผ่านช่องทางออนไลน์โดยใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ของตนเองผ่าน “ซิงเกอร์ ไลน์ คอนเนค” และมีการร่วมกับมาร์เก็ตเพลส เช่น Shopee เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางให้กับลูกค้า

“วันนี้ซิงเกอร์เป็นเหมือนแบรนด์ครอบจักรวาล เป็นเหมือนห้างสรรพสินค้าที่เดินได้ เซลส์ของซิงเกอร์ทำหน้าที่เดินเข้าไปหาลูกค้า ดังนั้น วันนี้จึงมีการเติมผลิตภัณฑ์เข้าไปเพิ่มเติม โดยเร็ว ๆ นี้จะได้เห็นผลิตภัณฑ์ที่มีความสมัยใหม่มากขึ้น เจาะในกลุ่มลูกค้าเฉพาะมากขึ้น ซึ่งหมายความว่า ในตลอดชีวิตของคนหนึ่งคนจะมีโอกาสซื้อสินค้าของซิงเกอร์ได้มากกว่า 1 ชนิด และสามารถซื้อได้ตลอดเวลา”

กิตติพงศ์กล่าวว่า สำหรับ SGC เป็นเหมือนอีกส่วนงานหนึ่งของซิงเกอร์ประเทศไทยที่ทำหน้าที่ดูแลบัญชี ปล่อยสินเชื่อ โดยการปล่อยสินเชื่อของ SGC ยังคงใช้แกนหลักของซิงเกอร์คือการขายตรง ด้วยการใช้ทีมที่ทำหน้าที่ด้านสินเชื่อเดินเข้าไปพบลูกค้า ดังนั้นลูกค้าของ SGC จึงเป็นลักษณะเจ้าของกิจการในท้องถิ่น

SG Capital หรือ SGC แยกตัวออกจากบริษัทแม่อย่าง ซิงเกอร์ประเทศไทย เมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา เพื่อเป็นการแยกธุรกรรมในเรื่องการปล่อยสินเชื่อ โดยในปี 2561 2560 เป็นยุคที่เริ่มมีการปล่อยสินเชื่อทะเบียนรถเพิ่มเติม ดังนั้น รูปแบบคือเป็นการค่อย ๆ พัฒนามาจากซิงเกอร์ โดยยังใช้แกนหลักคือจับกลุ่มลูกค้าฐานใหญ่ทั้งประเทศ แล้วใช้คนเดินเข้าไปหาลูกค้า เพราะวิธีการขายของซิงเกอร์คือการขายตรง”

ในส่วนของการให้สินเชื่อกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจให้สินเชื่อเช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าแบ่งออกเป็นสองส่วน ได้แก่ พนักงานขายของซิงเกอร์ที่ทำหน้าที่ขายอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และเก็บเอกสารส่งหลังบ้าน และพนักงานของ SGC ดูแลเรื่องกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการให้สินเชื่อ เนื่องจากเช่น สินเชื่อที่มีรถเป็นประกัน เนื่องจากเป็นสินเชื่อที่ต้องใช้ความชำนานและทักษะเฉพาะ เช่น การพิจารณาสินเชื่อ สามารถดูการพิจารณารุ่นของรถได้ และประเมินราคาในธุรกิจรถทำเงินได้ การบริหารจัดการลูกหนี้สินเชื่อ เป็นต้น ขณะที่พนักงานขายของซิงเกอร์จะทำในส่วนของการขายของและเก็บเอกสารส่งหลังบ้าน ด้านการขายสินค้ามีการใช้ระบบในการเก็บเงินโดยไม่ใช้พนักงานขาย ซึ่งลูกค้าสามารถชำระเงินผ่านธนาคารและเคาน์เตอร์เซอร์วิสได้

“ถ้าพูดถึงการเข้าถึงลูกค้าและการปล่อยสินเชื่อ แบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือพนักงานขายของซิงเกอร์ที่มีหน้าที่นำเสนอสินค้าขายของ เครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งมีประมาณ 5,000 คน และอีกส่วนคือ พนักงานของ SGC ที่ทำงานในด้านการเงินนำเสนอบริการสินเชื่ออื่น ๆ เช่น  สินเชื่อรถทำเงิน และสินเชื่อสวัสดิการ เป็นต้น ซึ่งงานมีความซับซ้อนมากกว่า ซึ่งปัจจุบันมีพนักงานประมาณ 200 250 คน ทั้งยังมีทีมงานบริหารสินเชื่อและทรัพย์สิน ที่ดูแลเรื่องการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อและการควบคุมคุณภาพสินเชื่อ ซึ่งเป็นงานมีความซับซ้อน”

กิตติพงศ์กล่าวว่า ที่ผ่านมา ธุรกิจของ SGC ขยายตัวมาโดยตลอด ตามการขยายตัวของธุรกิจของซิงเกอร์ โดยเฉพาะในช่วงปี 2560 เป็นต้นมาที่ขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีการขายสินค้าเพิ่ม ฐานลูกค้าเงินผ่อนมากขึ้น รวมกับการขยายเข้าไปในสินเชื่อรถทำเงินที่ต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก ดังนั้น ต้องใช้ SGC เข้าไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แล้วใช้เงินทุนในการขยายกิจการ

“ยิ่ง SGC ต้องการขยายธุรกิจเข้าไปในด้านการเงิน ไม่ว่าจะเป็นนอนแบงก์ หรือ ไฟแนนเชียล เซอร์วิส ยิ่งมีความจำเป็นที่ต้องมีการระดมทุนในรูปแบบของเขาเอง และในอนาคตตลาดเปิดพอที่สามารถเป็นพาร์ตเนอร์กับคนอื่นได้ก็จะทำเป็นเฟสขั้นตอนต่อไป เราต้องการให้ SGC เติบโตและแข็งแรง ส่วนเงินที่ซิงเกอร์ได้มาจากการขยายกิจการหรือได้กลับมาจากบริษัทลูกก็จะสามารถนำไปลงทุนต่อได้”

 

“รถทำเงิน” โตต่อเนื่อง

ทีมขาย-Surveyor คือจุดแข็ง


 บุษบา กุลศิริธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสจี แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ SGC กล่าวว่า SGC เริ่มจัดตั้งขึ้นในปี 2555 จากความต้องการแยกธุรกิจสินเชื่อออกมาให้ชัดเจนจากบริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) โดยเริ่มต้นจากให้เช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า จนปี 2560 เริ่มเห็นโอกาสทางธุรกิจสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นหลักประกันจึงได้เริ่มทำสินเชื่อรถทำเงินซึ่งครอบคลุมทั้งประเภทสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกันและประเภทให้เช่าซื้อรถยนต์แบบโอนกรรมสิทธิ์เล่มทะเบียน ทั้งนี้ปัจจุบัน SGC มีผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 5 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่

       1. เช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า (Home appliance/ Electric appliance for commercial) ให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อ (Hire Purchase) เครื่องใช้ไฟฟ้าแก่ลูกค้ารายย่อยทั่วไปรวมถึงให้และลูกค้าเชิงพาณิชย์ แบ่งเป็น

            (1) อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องใช้ในครัวเรือน (Home Appliances) ตัวอย่างเช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องกรองน้ำ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

             (2) เครื่องใช้ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (Electric appliance for commercial) ตัวอย่างเช่น สินค้าในกลุ่มตู้แช่แข็ง ตู้แช่เครื่องดื่ม ตู้เติมเงินหยอดเหรียญอัตโนมัติ ตู้เติมน้ำมัน เครื่องทำกาแฟ เป็นต้น

       โดยปัจจุบันพอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อของทั้งสองกลุ่มอยู่ที่ประมาณ 3,0005,000 ล้านบาท เติบโตเล็กน้อยซึ่งเป็นสินเชื่อที่มีการหมุนเวียนค่อนข้างเร็วเนื่องจากระยะเวลาการผ่อนไม่นานมาก โดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2-3 ปี จึงทำให้เกิดการหมุนเวียนของสินเชื่อค่อนข้างเร็ว ทั้งนี้ ปัจจุบันสินเชื่อเช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้ามีเฉพาะโดยหลักจะเป็นสินค้าแบรนด์ซิงเกอร์ แต่ในอนาคตอาจมีแบรนด์อื่นด้วย

      “สินเชื่อเช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นสินเชื่อที่เรียกได้ว่าเป็น DNA ของกลุ่มซิงเกอร์ โดย  พอร์ตมีอายุประมาน 2 ปี หลังจากนั้นอาจมีการกลับเข้ามาซื้ออีก หรือแนะนำเพื่อนให้เข้ามาซื้อ”

       2. เช่าซื้อเครื่องจักร (Captive Finance) เช่น เครื่องมือทางการแพทย์ เครื่องสกรีนผ้า เครื่องกลึง เครื่องพิมพ์ขนาดใหญ่ เครื่องจักรปัก เครื่องปริ้นต์ เป็นต้น โดยลูกค้าที่ตกลงทำสัญญาเช่าซื้อจะต้องชำระค่างวดเป็นรายเดือนซึ่งประกอบด้วยเงินต้นและดอกเบี้ย ในการพิจารณาวงเงินให้สินเชื่อ บริษัทจะพิจารณาจากสำเนาหลักฐานแสดงเงินเดือน เพื่อพิจารณาขีดความสามารถในการชำระเงิน การตรวจสอบคุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อและผู้ค้ำประกัน (แล้วแต่กรณี) ทั้งนี้ บริษัทมีนโยบายกำหนดระยะเวลาของสัญญาสูงสุดไม่เกิน 72 งวด

“สินเชื่อเช่าซื้อเครื่องจักรมีมานานแล้ว แต่ชะลอไปเพราะไม่มีบุคลากรที่เป็น Captive โดยเนื้อแท้ โดย Captive ต้องเข้าใจเครื่องมือทำกินของ SME ต้องเข้าใจธุรกิจที่หลากหลาย เช่น หากลูกค้าอยากเปิดร้านซักรีดต้องเข้าใจว่าต้องใช้อุปกรณ์อะไร เงินลงทุนเท่าไร เราไม่ได้ต้องการแค่คนที่ประเมินราคาเครื่องจักร แต่ต้องหาคนที่มาช่วยดูธุรกิจของลูกค้าได้”

       3. สินเชื่อรถทำเงิน เป็นหนึ่งนวัตกรรมในตลาดรีไฟแนนซ์ยานยนต์ที่เสริมศักยภาพของบริษัทและสามารถตอบโจทย์ความต้องการ พร้อมลดปัญหาขาดสภาพคล่องทางเงินให้หลายครอบครัวและหลายๆ ธุรกิจ ควบคู่กับการเข้าถึงบริการที่ครอบคลุมทั่วประเทศ

       “ความท้าทายของเราคือไม่มีใครเชื่อว่าเราจะสามารถทำสินเชื่อรถทำเงินได้โดยมี NPL ที่ ประมาณ 1% สิ่งที่พิสูจน์ได้คือตอนนี้ครบ 5 ปีแล้ว NPL ก็ยังคงอยู่ที่ ประมาณ 1%”

       สำหรับการบริหารหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) มาจากการที่พนักงานเป็นคนในพื้นที่ รวมถึงบริษัทมีฐานข้อมูลของลูกค้าและสามารถวิเคราะห์รายได้ในปัจจุบันและอนาคตได้ ขณะที่บริษัทจะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้กับลูกค้าให้สามารถพัฒนาต่อยอดธุรกิจไปได้ทีละขั้นสู่เป้าหมาย

       “หัวใจหลักในการบริหารสินเชื่อคือต้องรู้ว่ารายได้ลูกค้ามาจากไหน และจากการที่เราเป็นบริษัทลูกของซิงเกอร์ เราทำด้านสินเชื่อมานาน ทำให้มีประสบการณ์และมีฐานข้อมูลพอที่จะวิเคราะห์ได้ว่าอาชีพนี้มีรายได้ประมาณไหนและจะเติบโตต่อไปได้แค่ไหน เราจะเป็นพี่เลี้ยงให้เขาเติบโตขึ้นทีละขั้น พนักงานขายของเราใกล้ชิด และมีความเข้าใจลูกค้ามาก เพราะเป็นคนในพื้นที่ทั้งหมด ส่วนการอนุมัติสินเชื่อจะเข้ามาที่ส่วนกลางเพื่อปรับให้เหมาะสมกับความต้องการทางการเงินของลูกค้า”          

       ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถได้รับสินเชื่อตั้งแต่ 1 แสนบาท ถึง 30 ล้านบาท โดยเป็นลักษณะของคนที่มีรถจำนวนมากและมีสัญญาจ้างงานระยะยาว รายได้สม่ำเสมอ สำหรับกลุ่มเป้าหมายคือทุกธุรกิจที่มีรถตั้งแต่ 4 ล้อขึ้นไปไม่ว่าจะเป็นลักษณะขององค์กรธุรกิจ SME เกษตรกรรม ขนส่ง แท่นขุดเจาะ

       สำหรับสิ่งสำคัญที่ทำให้สินเชื่อ “รถทำเงิน” ของ SGC ไม่เหมือนใคร คือบริษัทมีทีมสำรวจ (Surveyor) ที่ทำหน้าที่ในการเยี่ยมและดูแลลูกค้า ซึ่งหากทีมขายอธิบายกับลูกค้าได้ไม่ครบถ้วนหรือลูกค้าต้องการดูแลเพิ่มเติมเราจะมีทีมเข้าไป โดยทีม Surveyor ของบริษัทเป็นคนที่อยู่ในพื้นที่อยู่แล้วและไม่ใช่คนที่จบการศึกษาสูงจึงเป็นการสร้างงานให้คนในหลายระดับชุมชนด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่เติบโตมาจากความเป็นซิงเกอร์ที่แท้จริง

       “ทีม Surveyor ของเราเป็นคนที่อยู่ในพื้นที่อยู่แล้ว มีความคุ้นเคยกับพื้นที่ การใช้เทคโนโลยีที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำได้งาน แต่ไม่สามารถทดแทนคนทั้งหมดได้ ระบบไม่สามารถเดินไปดูแลลูกค้าแทนเราได้ ทุกวันนี้คนพูดถึงเทคโนโลยีแต่เรากำลังไปในจุดที่เป็นเทคโนโลยี 100% แต่แห้งแล้งเกินไปหรือเปล่า ดังนั้นเราจึงยังต้องมีคนอีกหนึ่งชุดเพื่อเชื่อมโยงระหว่างโลกใบเก่ากับโลกใบใหม่”

       นอกจากนี้ สิ่งที่เป็นจุดเด่นของสินเชื่อรถทำเงินของ SGC คือการที่พนักงานไม่จำเป็นต้องรไม่มีประจำอยู่ที่สำนักงานหรือสาขา แต่ให้พนักงานเป็นฝ่ายเดินเข้าไปหาลูกค้าเพื่อให้เห็นลักษณะการทำธุรกิจที่แท้จริงของลูกค้า และทำให้สามารถช่วยลูกค้าวางแผนธุรกิจให้ตอบโจทย์ลูกค้าได้ ทั้งนี้ พอร์ตสินเชื่อรถทำเงินของ SGC 60% เป็นกลุ่ม fleet ขณะที่ 40% เป็นกลุ่มลูกค้าทั่วไป

       “เรามีความเชื่อว่ารถทำเงิน คือรถทำงาน เมื่อรถทำงานก็จะมีเงินกลับมาใช้สินเชื่อของเรา จุดแข็งของรถทำเงิน คือเป็นความโชคดีที่เราเป็นลูกของซิงเกอร์และมีความเข้าใจในการทำสินเชื่อ ทำให้เราเข้าใจในธุรกิจที่เราอยู่ ซึ่งสิ่งที่ต้องทำคือพัฒนาคนของเราให้เข้าใจธุรกิจของลูกค้าได้หลากหลายมากขึ้น”

       สำหรับเป้าหมายของสินเชื่อรถทำเงินในปี 2565 บริษัทได้ตั้งเป้าหมายสินเชื่อใหม่ New Loan ไว้ที่ 3,600 ล้านบาท โดยทำได้เกินเป้าที่ 3,900 ล้านบาท ขณะที่ในปี 2565 ตั้งเป้าสินเชื่อใหม่ที่ 5,500 ล้านบาท โดยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ทำได้ตามเป้า ขณะที่พอร์ตสินเชื่อรถทำเงินปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 7,000 ล้านบาท โดยตั้งเป้าว่าสิ้นปีต้องอยู่ที่ 10,000 ล้านบาท

       “ตอนนี้สินเชื่อใหม่ของรถทำเงินผ่านมาครึ่งปี เรามาได้ตามเป้า แต่ในส่วนครึ่งปีหลังเราจะมีการปรับกลยุทธ์ไปตามสภาพเศรษฐกิจ”

        ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งปีหลังส่วนของสินเชื่อรถทำเงินจะมีการพัฒนาช่องทางใหม่ที่ทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น โดยที่ผ่านมาคนรู้จัก SGC ในฐานะบริษัทลูกของซิงเกอร์ ดังนั้น ภารกิจสำคัญคือแนะนำตัวให้ชัดเจนว่า SGC เป็นบริษัทมหาชนที่ทำหน้าที่ในการให้สินเชื่อ

       “เราต้องทำให้ลูกค้ารู้ว่าเราจัดเป็นบริษัทที่ให้สินเชื่อจริง ๆ ไม่ใช่มิจฉาชีพ ตอนนี้สิ่งที่รบกวนเราคือมิจฉาชีพที่ทำให้คนกลัว ดังนั้น ต้องทำให้คนรู้ว่าต้องหาเราจากไหน ช่องทางไหน ที่ผ่านมาจึงมีการประชาสัมพันธ์มาโดยตลอดว่าการให้สินเชื่อคือผู้ที่มาขอสินเชื่อเป็นผู้รับอย่างเดียว ไม่มีการให้โอนเงินค่าเปิดเครดิต ค่าปลดล็อคระบบใดๆเข้ามาทั้งสิ้น พนักงานของเราไม่ได้รับอนุญาตให้โอนเงินเข้าบัญชีส่วนบุคคล ต้องโอนเงินเข้าบัญชีชื่อบริษัทเท่านั้น”

       4. สินเชื่อสวัสดิการ Debt Consolidation เป็นสินเชื่อสำหรับพนักงานประจำ ช่วยบริหารจัดการรวมหนี้จากส่วนต่าง ๆ มาจบในที่เดียว ครอบคลุมทั้งหนี้จากบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด และสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันจากสถาบันการเงิน และนอนแบงก์ (Non-Bank) หรือผู้ให้บริการทางการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-Bank)

       สำหรับกลุ่มเป้าหมายของสินเชื่อสวัสดิการ Debt Consolidation SGC ได้ร่วมลงนามเซ็นสัญญา MOU กับองค์กร กว่า 80 องค์กร ใน 4 กลุ่มบริษัท ครอบคลุมทั้งในรูปแบบบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) และกลุ่มบริษัทจำกัดที่ไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ

       โดยประกอบด้วย กลุ่มบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ณ ปัจจุบันที่มีรายชื่อใน SET 100 กลุ่มบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) บริษัทมหาชนจำกัดที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ บริษัทจำกัดที่มีชื่อเสียงและมั่นคง รวมทั้งกลุ่มบริษัทจำกัดที่ไม่เข้าเงื่อนไข

       ทั้งนี้ เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินให้กลุ่มพนักงานประจำในองค์กรคู่ค้าที่มีฐานเงินเดือน ตั้งแต่ 15,000 บาท ตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการเคลียร์ภาระหนี้สินให้จบเร็วขึ้น ด้วยวงเงินกู้สูงสุด 2,000,000 บาท อัตราดอกเบี้ยต่ำสุดสูงสุดทีไม่เกิน่  15% ต่อปี โดยการผ่อนชำระเป็นแบบลดต้นลดดอกเบี้ยในเวลาเดียวกัน พร้อมสามารถเลือกผ่อนชำระได้ตั้งแต่ 12 งวด ถึง 72 งวด

       “สินเชื่อสวัสดิการเป็นการทำงานร่วมกับฝ่ายบุคคลของแต่ละบริษัท โดย SGC มีหน้าที่ในการออกแบบผลิตภัณฑ์และรวมหนี้มาที่เราเพื่อให้พนักงานมีหนี้ที่ต้องผ่อนชำระในแต่ละเดือนลดลง และฝ่ายบุคคลของแต่ละบริษัทในการรวมหนี้มาที่เราเพื่อให้พนักงานมีหนี้ที่ต้องผ่อนชำระในแต่ละเดือนลดลง เรามีหน้าที่ในการออกแบบผลิตภัณฑ์โดยให้ช่วยหักบัญชีเงินเดือนพนักงานเพื่อชำระตรงมาที่เราทำให้พนักงานมีวินัยในการชำระเงินและสามารถลดภาระหนี้ได้ตามกำหนด ซึ่งตรงตามความต้องการของฝ่ายบุคคลของบริษัทที่อยากให้พนักงานมีคล่องตัวทางการเงินและมีความสุขอยู่แล้ว ซึ่งฝ่ายบุคคลของบริษัทเขาก็อยากให้พนักงานของเขาคล่องตัวและมีความสุขอยู่แล้ว ซึ่งตรงนี้เป็นจุดที่ทำให้เราเข้าใจเรื่องสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกันมากขึ้น โดยปัจจุบันพอร์ตสินเชื่อสวัสดิการเกิน 300 ล้านบาทแล้วสิ้นงวดไตรมาส 1 ของปี 2565 บริษัทฯ มีพอร์ตสินเชื่อสวัสดิการกว่า 214184 ล้านบาท และเป็นสินเชื่อที่คุณภาพดีมาก”

       5. CLICK2GOLD บริการผ่อนทองผ่านไลน์ โดยให้ผ่อนทองผ่านเเพลตฟอร์มไลน์ นานสูงสุด 24 เดือน มุ่งจับตลาดกลุ่มนิวเจนคนรุ่นใหม่ เช่น สายฟรีแลนซ์ ยูทูบเบอร์ อินฟลูเอ็นเซอร์ สามารถผ่อนทองขั้นต่ำเพียง 395 บาทต่อเดือน และยังเลือกผ่อนชำระได้นานตั้งแต่ 6 เดือน ไปจนถึงสูงสุด 24 เดือน โดยตั้งเป้ามีผู้ใช้บริการจำนวน 10,000 ราย คิดเป็นพอร์ตสินเชื่อจำนวน 100 ล้านบาท

นางสาวบุษบากล่าวว่า สำหรับธุรกิจใหม่ที่มีแผนจะทำคือบริษัทอยู่ระหว่างจับมือกับพาร์ทตเนอร์ในการให้สินเชื่อส่วนบุคคล (Personal Loan) โดยปัจจุบันอยู่ในช่วงเริ่มต้นซึ่งอาจได้เห็นสัญลักษณ์ของ SGC ในร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ใช่ซิงเกอร์บ้าง

“ตอนนี้สินเชื่อส่วนบุคคลอยู่ในขั้นเริ่มต้น เราต้องเข้าใจก่อนว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละประเภทไม่เหมือนกัน คนที่ใช้ซิงเกอร์อาจจะเน้นความทนทาน ให้ความสะดวกสบายได้ระดับหนึ่ง แต่อีกประเภทคือลูกค้ากลุ่มที่ต้องการความสนุกสนานในเชิงเทคโนโลยีมากขึ้น หรูหรามากขึ้น เราจึงต้องศึกษาพฤติกรรม และความต้องการลูกค้าในกลุ่มนี้ก่อน โดยคาดว่าในอีก 4-6 เดือนจะสามารถปรับแพคเกจให้เหมาะสมกับลูกค้ากลุ่มนี้ได้”

ในส่วนของการขยายเครือข่ายปัจจุบัน SGC มีพนักงานรถทำเงินอยู่ทั้งหมด 265 คน สำหรับรถทำเงิน โดยตั้งเป้าว่า ในปี 2565 จะขยายให้ได้เป็น 350 ราย ขณะที่กลุ่ม Surveyor คาดว่าจะขยายเพิ่มอีก 50 ราย ทั้งนี้ ต้องพัฒนาบุคลากรและระบบหลังบ้าน เช่น การพัฒนาในด้านไอทีและพัฒนาศักยภาพของคนควบคู่ไปด้วย เพื่อการทำงานที่สอดรับกันอย่างมีประสิทธิภาพ

“ปีนี้เป็นปีที่เรามุ่งมั่นในการทำเทรนนิ่งเพื่อพัฒนาบุคลากรของเราในแต่ละระดับชั้น เพื่อให้คนของเราเก่งขึ้น เข้าใจลูกค้ามากขึ้น คนหลังบ้านต้องช่วยสนับสนุนหน้าบ้านให้ได้เพื่อสร้างความสมดุลในการทำงาน”

 

คาด First Trade ไตรมาส 4

ตั้งเป้าพอร์ตสินเชื่อ 5 หมื่นล้านบาท

นางสาวบุษบากล่าวว่า สำหรับผลประกอบการของ เอสจี แคปปิตอล มีการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยปีละประมาณ 5040% และในช่วง 6 เดือนแรกสิ้นงวดไตรมาส 1 ของปี 2565 2565 บริษัทฯ มีพอร์ตสินเชื่อจำนวน จำนวน 8,56912,357 ล้านบาท เติบโตเพิ่มเพิ่มขึ้นประมาณนถึง  29.812.7% เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2563 2564 และประมาณ 84.6% เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2563 โดยมีพอร์ตสินเชื่อหลักเป็นพอร์ตสินเชื่อรถทำเงิน 4,6366,889 ล้านบาท ส่วนพอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 3,9335,053 ล้านบาท

ทั้งนี้ มองไปข้างหน้ามั่นใจว่าในสิ้นปี 2565 จะสามารถทำพอร์ตสินเชื่อให้ไปถึง 15,000 ล้านบาทได้ ขณะที่หาก SG Capital สามารถพัฒนาจุดที่ยังต้องพัฒนาให้ดีขึ้นได้ รวมกับจุดแข็งที่มีในปัจจุบันคาดว่าในอีก 4 ปีข้างหน้า หรือปี 2569 จะมีพอร์ตสินเชื่อแตะ 50,000 ล้านบาท

“เราบอกทุกคนว่า ปีนี้เราต้องได้พอร์ตสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท อีกสี่ปีต้องเป็น 50,000 ล้านบาท โดยมีปัจจัยจากการพัฒนาสิ่งที่ยังไม่ได้ทำรวมกับจุดแข็งที่มีจากการเป็นคนในพื้นที่และการพัฒนาเทคโนโลยีที่ต้องมีการรวมศูนย์เพื่อความรวดเร็วในการทำงาน”

นางสาวบุษบากล่าวว่า จากเป้าหมายการเติบโตที่ได้วางไว้บริษัทจึงได้เข้าไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เนื่องจากมองว่าในระยะยาว ยังมีโอกาสในการขยายธุรกิจมีอย่างสม่ำเสมอ แต่ SGC เพียงคนเดียวอาจทำได้ไม่มาก ดังนั้น จึงต้องมีการร่วมกับคนที่มีเจตนารมย์เดียวกันในการระดมเงินทุนมาต่อยอดธุรกิจที่จะทำให้ผู้ประกอบการเติบโตต่อไปได้ และจะเป็นการช่วยขับเคลื่อนธุรกิจและเศรษฐกิจได้ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ

ปัจจุบันได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ไฟลิ่ง) กับสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) เรียบร้อยแล้ว โดยอยู่ระหว่างขั้นตอนการทำงานพิจารณาของ โดยสำนักงาน ก.ล.ต. อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะให้เทรดครั้งแรกในไตรมาส 4 ปี 2565

 “แม้วันนี้ SGC จะเป็นบริษัทลูกขององค์กรที่จดทะเบียนเข้าตลาดแล้ว แต่เรายังคงเดินหน้าพัฒนาศักยภาพรอบด้าน ทั้งผลิตภัณฑ์ บริการ ส่งเสริมความสามารถบุคลากรให้พร้อมตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าที่เปลี่ยนไปในแต่ละยุคสมัย เพื่อที่จะเป็นหนึ่งในบริษัทที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และพร้อมดำเนินธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลโดยยึดหลักธรรมาภิบาลที่ดี”

 



ติดตามคอลัมน์ Special Interview  ได้ในวารสารการเงินธนาคารฉบับเดือนสิงกาคม 2565 ฉบับที่ 484 ในรูปแบบดิจิทัล :  https://goo.gl/U6OnIi   

รวมช่องทางการสั่งซื้อวารสารการเงินธนาคาร ทั้งฉบับปัจจุบันและฉบับย้อนหลัง ครบจบที่นี้ที่เดียว : https://bit.ly/3bQdHgt