ประมาณการเศรษฐกิจปี 65-66 แนะ 5 กองเด่นน่าลงทุน
การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและการค้าโลกในปี 2565 ยังอาศัยกำลังจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและตลาดเกิดใหม่เป็นหลัก ขณะที่ในปี 2566 นั้น IMF ปรับลดประมาณการลงทุกกลุ่ม แต่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและตลาดเกิดใหม่ยังคงให้ตัวเลขอัตราการเติบโตที่สูงกว่า และแนวโน้มเดียวกันนี้ก็ไม่ต่างจากประมาณการเศรษฐกิจในประเทศไทย ซึ่งชี้ว่าปี 2566 จะเติบโตในอัตราที่ชะลอลงจากปี 2565
เข้าช่วงปลายปีและก็เป็นจังหวะพอดีกับที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เผยแพร่ประมาณการเศรษฐกิจโลกฉบับล่าสุดในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา รวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้นำเสนอประมาณการเศรษฐกิจไทยฉบับปรับปรุงล่าเมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา บทความฉบับนี้จึงขอนำเสนอสรุปประมาณการเศรษฐกิจดังกล่าว รวมถึงแนะนำกองทุนที่น่าสนใจ
ประมาณการเศรษฐกิจโลกล่าสุด
IMF
ประมาณการปี 2565
World
Economic Outlook ของ IMF
ฉบับเดือนตุลาคม 2565 นำเสนอว่าภาพรวมเศรษฐกิจโลกปี 2565 น่าจะเติบโต 3.2% ไม่เปลี่ยนแปลงจากประมาณการฉบับเดือนกรกฎาคม 2565 อย่างไรก็ดี
รายละเอียดแต่ละกลุ่มประเทศมีการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกันไป
กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว คาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโต 2.4% ซึ่งลดลงจากประมาณครั้งก่อนที่คาดว่าจะเติบโต 2.5% โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ ถูกปรับประมาณการลงมากสุด
จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 2.3%
ลดเหลือ 1.6%
ขณะที่เศรษฐกิจยูโรโซน ได้รับการปรับประมาณการเพิ่มมากสุด จาก 2.6% มาเป็น 3.1%
ส่วนกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและตลาดเกิดใหม่
เศรษฐกิจจะเติบโต 3.7%
เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 3.6%
โดยเศรษฐกิจอินเดียถูกปรับประมาณการลงมากสุด จาก 7.4% เหลือ 6.8% ขณะที่เศรษฐกิจรัสเซียคาดว่าจะแย่น้อยลง
จากเดิมที่คาดว่าจะติดลบถึง 6.0%
ปรับขึ้นมาเป็นติดลบ 3.4%
ทางด้านการค้าโลก คาดว่าจะขยายตัว 4.3% ปรับตัวสูงขึ้นจากเดิมที่ 4.1% โดยกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและตลาดเกิดใหม่ยังเป็นกำลังสำคัญในด้านการเติบโต กล่าวคือ การนำเข้าของเขตเศรษฐกิจกลุ่มนี้จะเติบโต 2.4% ปรับเพิ่มขึ้นจากประมาณการเดิมที่ 1.1% และการส่งออกจะเติบโต 3.3% ปรับเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 3.2% ขณะที่กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว การนำเข้าจะขยายตัว 6.0% ปรับลดจากประมาณการเดิมเล็กน้อยที่ 6.2% และการส่งออกจะขยายตัว 4.2% ลดลงจาก 4.5%
ประมาณการปี 2566
จากรายงานฉบับเดียวกันของ IMF ในเดือนตุลาคม 2565 คาดว่า เศรษฐกิจโลกในปี 2566 จะเติบโต 2.7% ลดลงจากประมาณการครั้งก่อน (ณ กรกฎาคม 2565)
ที่คาดไว้ที่ระดับ 2.9%
กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว เศรษฐกิจจะเติบโต 1.1% ซึ่งลดลงจากประมาณครั้งก่อนที่คาดว่าจะเติบโต 1.4% โดยเศรษฐกิจยูโรโซน ถูกปรับประมาณการลงมากสุด
จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 1.2%
ลดเหลือ 0.5%
นำมาโดยเยอรมนีที่เศรษฐกิจปีหน้าอาจติดลบ 0.3% จากเดิมที่ประเมินว่ายังบวกอยู่ในระดับ 0.8% ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปีหน้าจะเติบโต 1.0% ไม่เปลี่ยนแปลงจากประมาณการครั้งก่อน
ส่วนกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและตลาดเกิดใหม่
เศรษฐกิจจะเติบโต 3.7%
ลดลงจากเดิมที่ 3.9%
โดยเศรษฐกิจละตินอเมริกา ถูกปรับประมาณการลงมากสุด จาก 2.0% เหลือ 1.7% ขณะที่เศรษฐกิจรัสเซียคาดว่าจะแย่น้อยลงเช่นเดียวกับประมาณการปี
2565
จากเดิมที่คาดว่าจะติดลบถึง 3.5%
ปรับขึ้นมาเป็นติดลบ 2.3%
ทางด้านการค้าโลกในปีหน้า 2565 คาดว่าจะขยายตัว 2.5% ปรับตัวลดลงจากเดิมที่ 3.5%
โดยกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและตลาดเกิดใหม่แม้จะถูกปรับลดประมาณการลงเช่นกัน
แต่ก็ในระดับน้อยกว่ากลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว กล่าวคือ
การนำเข้าของเขตเศรษฐกิจกลุ่มนี้จะเติบโต 3.0% ปรับลดลงจากประมาณการเดิมที่ 3.3% และการส่งออกจะเติบโต 2.9% ปรับลดลงจากเดิมที่ 3.3% ขณะที่กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว การนำเข้าจะขยายตัว 2.0% ปรับลดจากประมาณการเดิมที่ 2.8% และการส่งออกจะขยายตัว 2.5% ลดลงจากเดิมที่ประมาณการไว้ถึง 3.5%
ประมาณการเศรษฐกิจไทยล่าสุดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย
รายงานประกอบการแถลงข่าวผลการประชุม กนง.
ครั้งที่ 5/2565
เมื่อปลายเดือนกันยายน 2565
ได้นำเสนอว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2565
จะเติบโต 3.3% ไม่เปลี่ยนแปลงจากประมาณการครั้งก่อนหน้าในเดือนมิถุนายน
2565
โดยการนำเข้าสินค้าและบริการจะขยายตัว 16.8% และ 8.2%
ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากประมาณการเดิมที่ 13.8% และ 7.9%
ตามลำดับ
ส่วนเศรษฐกิจไทยปี 2566 ได้นำเสนอว่า จะเติบโต 3.8% ลดลงจาก 4.2% โดยที่การนำเข้าสินค้าและบริการจะขยายตัวเล็กน้อย 1.8% และ 1.1% ตามลำดับ ลดลงจากประมาณการเดิมที่ 3.5% และ 2.1% ตามลำดับ
สรุปประมาณการ
จะเห็นได้ว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและการค้าโลกในปี 2565 ยังอาศัยกำลังจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและตลาดเกิดใหม่เป็นหลัก ขณะที่ในปี 2566 นั้น IMF ปรับลดประมาณการลงทุกกลุ่ม แต่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและตลาดเกิดใหม่ยังคงให้ตัวเลขอัตราการเติบโตที่สูงกว่า และแนวโน้มเดียวกันนี้ก็ไม่ต่างจากประมาณการเศรษฐกิจในประเทศไทย ซึ่งชี้ว่า ปี 2566 จะเติบโตในอัตราที่ชะลอลงจากปี 2565
แนะนำกองทุนน่าสนใจตามประมาณการเศรษฐกิจ
1. ตราสารหนี้ตลาดเกิดใหม่
เน้นความมั่นคงของเงินต้น
• กองทุนเปิดทีเอ็มบี Emerging Bond
(TMBEBF) เน้นลงทุนในกองทุนหลัก
Amundi Funds Emerging Markets Hard Currency Bond โดยลงทุนในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ
• กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ Asian Fixed Income ชนิดสะสมมูลค่า (SCBABOND(A)) เน้นลงทุนในกองทุนหลัก DWS Invest Asian
Bonds สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ
(USD) ที่ลงทุนในตราสารที่มีการจ่ายดอกเบี้ยและหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกโดยรัฐบาล/บริษัทในประเทศในภูมิภาคเอเชีย
2. ตราสารทุนตลาดเกิดใหม่
เน้นโอกาสเติบโต
• กองทุนเปิดกรุงศรีบริคสตาร์ (KF-BRIC) เน้นลงทุนในกองทุนหลัก Schroder
International Selection Fund BRIC (Brazil, Russia, India, China) ที่เน้นลงทุนในตลาดหุ้นของประเทศบราซิล รัสเซีย
อินเดีย และจีน
• กองทุนเปิดวรรณเอเอ็ม โกลบอล อีเมอร์จิ้ง มาร์เก็ต
เอควิตี้ (1AM-GEM) เน้นลงทุนในลงทุนตราสารทุนประเทศเป็นตลาดเกิดใหม่ในภูมิภาคต่างๆ
ของโลก
ทั้งที่จดทะเบียนในประเทศที่เป็นตลาดเกิดใหม่และที่จดทะเบียนในประเทศที่พัฒนาแล้ว
• กองทุนเปิดกรุงไทยหุ้น เอ็ม เอ ไอ (KT-mai) เน้นลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทตราสารทุนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ของประเทศไทย ที่มีแนวโน้มการเจริญเติบโตที่ดีในอนาคต
ข้อมูลเศรษฐกิจจาก
imf.org และ bot.or.th
กองทุนแนะนำจาก
treasurist.com