หลักการออกแบบโครงสร้างผู้ถือหุ้นของบริษัท
หลักการออกแบบโครงสร้างผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ดี ยังมีการพูดถึงในวงแคบๆ ไม่เป็นที่แพร่หลาย แต่เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะบริษัทที่ก่อตั้งใหม่ หรือ Startup เนื่องจากหากไม่ได้มีการวางแผน หรือออกแบบให้ดีแล้ว จะมีผลกับผู้ถือหุ้น ตั้งแต่ผู้ก่อตั้ง และนักลงทุนที่เข้ามาร่วมลงทุนในแต่ละรอบการลงทุน ทั้งในเรื่องของจำนวนหุ้นที่ถือ รวมถึงผลตอบแทนของนักลงทุน เมื่อมีการ Exit โดยหลักการออกแบบโครงสร้างผู้ถือหุ้นที่ดีควรมีหลักการดังนี้
1.Easy & Simple
2.Understandable
3.Dilution Effect
4.Value Creation
5.Controls
1.Easy & Simple การออกแบบควรไม่ยุ่งยากซับซ้อน มีหลักการในการคำนวณหุ้นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในส่วนของผู้ก่อตั้งบริษัท ควรมีพื้นฐานมาจากการลงแรง หรือลงเงินที่มีหลักการที่ชัดเจน อธิบายได้
2.Understandable จากหลักการที่ Easy & Simple จะทำให้นักลงทุน ที่จะเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นเข้าใจได้ถึงสัดส่วนการถือหุ้นที่มีอยู่
3.Dilution Effect เป็นเรื่องที่สำคัญที่ต้องออกแบบให้ดี โดยควรเป็นการเพิ่มทุน ที่มี Premium ไม่ใช่การตัดหุ้นขาย ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากอันจะทำให้จำนวนหุ้นของผู้ก่อตั้งบริษัทไม่ลดลงจนสูญเสียความเป็นเจ้าของไป โดยทั่วไปแล้วกลุ่มผู้ก่อตั้งบริษัทควรคงสัดส่วนให้ได้ไม่น้อยกว่า 40% หลังการระดมทุนทุกรอบแล้ว
4.Value Creation ในการออกแบบโครงสร้างผู้ถือหุ้น ต้องมีการคำนึงถึงมูลค่าของหุ้น ให้มีความมั่นใจได้ว่า มูลค่าของหุ้นต้องปรับตัวขึ้นได้เรื่อยๆ ซึ่งจะส่งผลให้มูลค่าของบริษัทเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ตรงตามหลักการการก่อตั้งบริษัท
5.Controls ผู้ถือหุ้นหลักต้องแน่ใจว่ายังคงมีเสียงในการควบคุมบริษัทได้ ซึ่งทำได้ด้วยหลักการตามข้อ 1-2 โดยต้องให้สามารถควบคุมในด้านต่างๆ อาทิเช่น ความเป็นเจ้าของ, สิทธิในการออกเสียง, จำนวนคณะกรรมการบริหาร และการควบคุมทางด้านการเงิน
จะเห็นว่าการออกแบบโครงสร้างผู้ถือหุ้นมีความสำคัญอย่างมาก แต่บางครั้งอาจถูกละเลย และเมื่อออกแบบโครงสร้างผู้ถือหุ้นอย่างดีแล้ว จะส่งผลให้บริษัทสามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่น ลดความขัดแย้ง และเพิ่มโอกาสในความสำเร็จตามที่ได้ตั้งใจไว้
พบกันใหม่ในครั้งหน้าครับ รักษาสุขภาพกาย สุขภาพใจ กันด้วยนะครับ ขอบคุณครับ