คาดตลาดหุ้นยังแกว่งตัว แนะหุ้นรับอานิสงส์ท่องเที่ยวฟื้น
ตลาดหุ้นไทยเดือนกันยายนนี้
คาดว่าดัชนีฯจะแกว่งกรอบแคบ
โดยตลาดหุ้นต่างประเทศได้ข้ามผ่านความกังวลสถานการณ์ยูเครน-รัสเซียมาแล้ว
ขณะที่ราคาสินค้าพลังงานยังสูง ตัวแปรสำคัญคือ การปรับขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ในการประชุม FOMC วันที่ 20-21 ก.ย. นี้
รวมถึงสถานการณ์จีน-ไต้หวันที่ยังเป็นความเสี่ยงของตลาดหุ้น
ส่วนปัจจัยในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้นจากภาคการท่องเที่ยวที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น
สนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
สำหรับกลยุทธ์การลงทุน
บล.ดาโอ แนะนำให้เลือกหุ้นที่มีปัจจัยเฉพาะตัว หรือมีข่าวเป็นตัวช่วยหนุน
รวมถึงหุ้นที่ได้อานิสงส์จากการท่องเที่ยวของไทย หรือเศรษฐกิจฟื้น
โดยหุ้นที่น่าสนใจลงทุนในเดือนกันยายนนี้
บล.ดาโอ แนะนำ BANPU, CRC และ ERW บล.ไทยพาณิชย์
แนะนำ BBL, CRC และ HMPRO ด้านการลงทุนต่างประเทศ บล.ดีบีเอส
วิคเคอร์ส แนะนำหุ้นกลุ่มรถยนต์ในประเทศจีนที่มีการเติบโตสูง
บล.ดาโอ
แนะ 3 หุ้นเด่น BANPU-CRC-ERW
บมจ.บ้านปู : BANPU ราคาเป้าหมาย 17.00 บาท
• คาดราคาถ่านหินและก๊าซฯยืนแกร่งใน 2H22E ; มีแนวโน้มปรับ ASP ถ่านหินในออสเตรเลีย
เราเชื่อว่าราคาพลังงานทั้งถ่านหินและก๊าซธรรมชาติจะได้ปัจจัยหนุนจากอุปสงค์ที่สูงขึ้นในช่วงฤดูหนาวของฝั่งยุโรปซึ่งยังมีความขัดแย้งกับรัสเซียอยู่
อีกทั้งปริมาณพลังงานสำรองคงคลังก็อยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว
ทั้งนี้ ASP ถ่านหินอิงแหล่ง Newcastle เฉลี่ย QTD อยู่ที่ USD403/ton (+143% YoY, +10% QoQ) ขณะที่ ASP ก๊าซฯอิงแหล่ง Henry Hub เฉลี่ย QTD อยู่ที่ USD7.6/mmbtu (+76% YoY, +1% QoQ) ทั้งนี้ BANPU เปิดเผยว่า
อยู่ในระหว่างการเจรจาขอปรับเพิ่ม ASP ถ่านหินขายในประเทศออสเตรเลียอยู่อีกด้วย
• ธุรกิจก๊าซฯได้แรงหนุนจาก M&A ช่วยชดเชย Hedging Loss ใน 2H22E BANPU ได้เข้าไปซื้อแหล่งก๊าซ Barnett เพิ่มเติมเสร็จสิ้นตั้งแต่สิ้นเดือน
มิ.ย.2022
โดยจะทำให้บริษัทเริ่มรับรู้ปริมาณขายก๊าซเพิ่มเติมได้ตั้งแต่ 3Q22E เป็นต้นไป ทั้งนี้
บริษัทเปิดเผยว่า แหล่งก๊าซใหม่นี้จะช่วยเพิ่มปริมาณขายก๊าซ 225 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (mmcfed) (ประมาณ 35% เพิ่มเติมจากปริมาณขายก๊าซใน 2Q22) ทั้งนี้
เราคาดว่าปริมาณขายก๊าซเพิ่มเติมนี้จะช่วยชดเชย Hedging Loss ที่มีแนวโน้มยังทรงตัวสูงใน 2H22E ได้
• แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 17.00 บาท อิงวิธี SOTP โดยราคาเป้าหมายของเราได้รวมผลกระทบที่เป็นไปได้จาก Full Dilution จากการใช้สิทธิ์ Warrants (BANPU-W4, BANPU-W5) เข้าไปแล้ว ทั้งนี้ เรามองว่ากำไรของบริษัทจะแข็งแกร่งต่อเนื่องไปใน 2H22E หนุนด้วยราคาขายเฉลี่ย (ASP) ถ่านหินและก๊าซฯที่ยืนสูง อีกทั้งมีแรงหนุนจากปริมาณขายก๊าซฯที่สูงขึ้นจากการรวมสินทรัพย์ของ XTO เข้ามาเต็มระยะเวลา
บมจ.เซ็นทรัล
รีเทล คอร์ปอเรชั่น : CRC ราคาเป้าหมาย 44.00 บาท
• ผลการดำเนินงานยังเติบโตต่อได้ในทุกธุรกิจ
ถึงแม้ใน 3Q22E แม้จะเป็น Low Season ของธุรกิจ Retail เราคาดว่าบริษัทจะยังมีกำไรได้ดีต่อเนื่อง
ส่วน 4Q22E จะเห็นการฟื้นตัวที่ชัดเจนกว่า
เนื่องจากเป็น High Season และการขยายสาขา ส่วนธุรกิจ Hardline อาจจะเห็นผลกระทบจากราคาเหล็กบ้างแต่เป็นสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับกลุ่ม
(สินค้าเหล็กคิดเป็นประมาณ 6% ของรายได้กลุ่ม
Hardline)
ส่วนธุรกิจ Food บริษัทจะเริ่มกลับมาขยายสาขา Hypermarket ในเวียดนามจากเพียง 1 สาขาใน 2022E ตั้งเป้า 3 สาขาใน 2023E สำหรับธุรกิจ Property, Occupancy Rate อยู่ในระดับ 86% ส่วนลดค่าเช่าอยู่ในระดับ high-single digit จากระดับ mid-double digit ใน 1Q22 และยังสามารถขึ้นค่าเช่าจากการ Renew Contract สำหรับ Tenant เดิมได้ในระดับ 1.5-3% จาก Traffic ที่เริ่มกลับมา
ปัจจุบัน Traffic ฟื้นตัวกลับมาคิดเป็นระดับ 80% ของปี 2019 ส่วนสาขาในประเทศไทยที่กำลังจะเปิดใน 2H22E ปัจจุบันทำ Occupancy Rate ได้ถึง 90% ทั้งสองสาขา และมองว่ายังมี Upside จาก Occupancy Rate ในประเทศเวียดนามที่ฟื้นตัวได้อีก
ปัจจุบันอยู่ที่ 69% ทั้งนี้ Blended GPM ใน 1H22 ขยายตัวอยู่ที่ระดับ 26.2% (+140bps จาก 24.8% ใน 1H21) จาก Margin กลุ่ม Fashion ที่ดีขึ้นและส่วนลดค่าเช่าที่ลดลง
และคาดว่าจะทรงตัวได้ในระดับนี้ใน 2022E
• ยังประเมินกำไรสุทธิปี 2022E/23E โดดเด่นต่อเนื่อง อยู่ที่ 5.83 พันล้านบาท +9,711% YoY และ 8.24 พันล้านบาท +41 YoY โดยผลการดำเนินงาน 1H22 คิดเป็น 46% ของประมาณการกำไรปี 2022E เรามองว่าใน 2H22E กำไรจะยังโตได้จากการฟื้นตัวที่เห็นได้ชัดจากใน
1H22 โดยประมาณรายได้ 2022E อยู่ที่ 2.17 แสนล้านบาท หนุนโดย Organic Expansion ของกลุ่มธุรกิจ Hardline และ Food รวมถึงกลุ่ม Fashion ฟื้นตัวเด่นอีกจำนวน 2 สาขา ใน 2H22E
ประกอบกับใน Q4 จะเป็น High Season ของธุรกิจ Retail คาด Revenue Mix กลุ่มนี้จะกลับมาอยู่ที่ระดับ 25-26% ในปี 2023E (ปัจจุบัน 1H22 อยู่ที่ 24%) ซึ่งจะเห็นการเติบโตของรายได้ทั้งรายได้จากการขายสินค้าและรายได้ค่าเช่า
แม้ผลการดำเนินปี 2023E จะยังไม่กลับไปเท่าปี
2019
(pre-covid) เรามองว่าเป็น Room ในการเติบโตต่อได้อีก
• แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 44.00 บาท อิง PER ปี 2023E ที่ 32.0x (+2SD Above Peer Average ที่ 25.5x) เรายังแนะนำซื้อจาก Growth Story และการฟื้นตัวได้โดดเด่นกว่า Peer จากธุรกิจ Fashion รวมถึงรายได้ค่าเช่าที่ขยายตัวดีขึ้นจากการขยายสาขาและค่าเช่าพื้นที่ในศูนย์การค้าที่ใกล้เข้าสู่เรทปกติ
ในปี 2023E ผลการดำเนินงานเริ่มใกล้เคียง pre-covid มากขึ้น
บมจ.ดิ เอราวัณ
กรุ๊ป จำกัด : ERW ราคาเป้าหมาย 4.80 บาท
• คาดผลการดำเนินงาน 2H22E ฟื้นตัวเด่น โดยผลการดำเนินงานใน 3Q22E จะเห็นเป็นขาดทุนปกติลดลงเมื่อเทียบ
YoY และ QoQ จากนักท่องเที่ยวที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากมีการทยอยเปิดประเทศ
โดย ERW คาดจำนวนนักท่องเที่ยวปี 2022E จะอยู่ที่ 10 ล้านคน (7M22 อยู่ที่ 3.1 ล้านคน) และ F&B ที่ฟื้นตัวได้ดี
และยังมีโครงการเราเที่ยวด้วยกันที่ต่ออายุโครงการเข้ามาช่วยหนุนต่อเนื่อง
นอกจากนี้
เราคาดว่าสถานการณ์จะเริ่มพลิกฟื้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 4Q22E จากการเข้าสู่ช่วง High Season และคาดว่าผลการดำเนินงานของ ERW จะพลิกกลับมามีกำไรสุทธิได้ในปี 2023E จากธุรกิจโรงแรมที่จะฟื้นตัวได้ดี
และปี 2024E กำไรจะกลับไปเท่ากับปี 2019
• Occ. Rate เดือน ก.ค. 22 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ขณะที่ต้นทุนค่าแรงกระทบจำกัด โดย Occ. Rate ไม่รวม Hop Inn เดือน ก.ค. 22 ฟื้นตัวได้ดีมาอยู่ที่ 65% จาก 2Q21 ที่ 55% ส่วน Hop Inn เพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่
76% จาก 2Q21 ที่ 73% ขณะที่ต้นทุนค่าแรง (20% ของรายได้)
ที่จะเพิ่มขึ้น 5-10% และ Utilities (6-8% ของรายได้) ที่จะเพิ่มขึ้น 20% ผู้บริหารคาดว่าผลกระทบต่อ EBITDA Margin จำกัดไม่เกิน 1%
• แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมายปี 2022E ที่ 4.80 บาท อิง DCF (WACC 7.6%, Terminal Growth 2.5%) โดยเรามองสถานการณ์การท่องเที่ยวใน
2H22E จะฟื้นตัวได้ดีจากการเข้าสู่ช่วง High Season ของไทย ซึ่ง ERW จะได้รับประโยชน์สูงสุดเพราะมีสัดส่วนโรงแรมในประเทศสูงที่สุดในกลุ่มถึง
88%
บล.ไทยพาณิชย์
แนะ 3 หุ้นดัง BBL-CRC-HMPRO
บมจ.ธนาคารกรุงเทพ
: BBL ราคาเป้าหมาย 168.00 บาท
• คาดตั้งสำรองลดลงใน 2H65 BBL คงเป้าการตั้งสำรองในปี 2565 ไว้ที่ 2.6 หมื่น ลบ. (Credit Cost 1%) เทียบกับ 1.5 หมื่น ลบ. (Credit Cost 1.13%) ใน 1H65 และ 3.4 หมื่น ลบ. (Credit Cost 1.38%) ในปี 2564
โดยธนาคารได้เร่งตั้งสำรองเพิ่มใน 1H65 ไปแล้ว ดังนั้น
เราจึงคงประมาณการการตั้งสำรองในปี 2565 ไว้ที่ 2.9 หมื่น ลบ. (Credit Cost 1.1%) โดยคาดว่า BBL จะตั้งสำรองใน 2H65 ลดลง HoH และ YoY เราเชื่อว่า BBL มีความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์ต่ำกว่าธนาคารอื่นๆ
เนื่องจากมีสัดส่วนเงินให้สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่สูงที่สุด และมี LLR Coverage สูงมากที่ 232%
• ได้ประโยชน์มากที่สุดจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ย
สำหรับ 2Q65 BBL พบว่า NIM ขยายตัวมากที่สุด
เนื่องจากผลตอบแทนจากสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น เพราะ 1) สินเชื่อกิจการต่างประเทศของธนาคารซึ่งส่วนใหญ่อ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ย
LIBOR ได้ประโยชน์จากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศ
และ 2) ธนาคารสามารถคิดอัตราดอกเบี้ยที่ดีขึ้นได้สำหรับการปล่อยสินเชื่อใหม่
(โดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่)
สอดคล้องกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก
• Upside ต่อการเติบโตของสินเชื่อ BBL ยังคงเป้าการเติบโตของสินเชื่อปี 2565 ไว้ที่ 4-6% เทียบกับ 2.5% YTD ใน 1H65 และ 9% ในปี 2564 ธนาคารยังคงเป้าการเติบโตของสินเชื่อปี 2565 จำแนกตามประเภทสินเชื่อไว้ที่ 4-6% สำหรับสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่, 3% สำหรับสินเชื่อธุรกิจขนาดกลาง, 1% สำหรับสินเชื่อธุรกิจขนาดเล็ก, 4-6% สำหรับสินเชื่อรายย่อย และ 4-6% สำหรับสินเชื่อกิจการต่างประเทศ เราเล็งเห็น Upside ต่อประมาณการการเติบโตของสินเชื่อปี
2565 ของเราที่ 6% เนื่องจากสินเชื่อของ BBL จะเติบโตเร่งตัวขึ้นตามฤดูกาลในไตรมาสที่ 4
• คงเป้ารายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิปี 2565 ไว้ในระดับคงที่ BBL ยังคงเป้ารายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิปี 2565 ของธนาคารไว้ในระดับคงที่
สอดคล้องกับประมาณการของเรา ใน 2Q65
รายได้ค่าธรรมเนียมที่อ่อนตัวลง (-3% QoQ, -2% YoY) เกิดจากค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับตลาดทุนที่ลดลง ในขณะที่ค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับสินเชื่อปรับตัวดีขึ้น
BBL คาดว่าค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมจะยังคงตกอยู่ภายใต้แรงกดดัน
แต่จะได้รับการชดเชยจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของค่าธรรมเนียม Bancassurance และค่าธรรมเนียมการบริหารสินทรัพย์
• คงเป้าอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ปี 2565 ไว้ที่ Low 50% BBL ยังคงเป้าอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ปี 2565 ไว้ที่ Low 50% เทียบกับ 50.7% ในปี 2564 สอดคล้องกับประมาณการปี 2565 ของเราที่ 50.8% เราคาดว่าค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงประสิทธิภาพ
เช่น IT จะปรับตัวเพิ่มขึ้น
• ธนาคารเพียงแห่งเดียวที่จะเห็นกำไร
2H65 เพิ่มขึ้น HoH เราคาดว่า BBL จะเป็นธนาคารเพียงแห่งเดียวที่จะรายงานกำไร 2H65 เพิ่มขึ้น HoH และฟื้นตัวดีขึ้นอย่างมาก YoY โดยมีสาเหตุมาจากการเร่งตั้งสำรองเพิ่มในช่วงครึ่งปีแรก
การปล่อยสินเชื่อได้สูงในช่วงครึ่งปีหลัง และการขยายตัวของ NIM จากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย กำไร 1H65 คิดเป็นสัดส่วน 44% ของประมาณการกำไรเต็มปีของเรา
บมจ.เซ็นทรัล
รีเทล คอร์ปอเรชั่น: CRC ราคาเป้าหมาย 46.00 บาท
• ปรับเป้าหมายปี 2565 เพิ่มขึ้น
ยอดขายจากธุรกิจค้าปลีก ในปี 2565 CRC ตั้งเป้าที่จะทำยอดขายจากธุรกิจค้าปลีกให้เติบโตถึงตัวเลขกรอบบนของเป้าที่บริษัทวางไว้ก่อนหน้านี้ที่ 15-20% YoY หรือสูงกว่านั้น โดยการเติบโตที่เร่งตัวขึ้นส่วนหนึ่งเกิดจากฐานต่ำจากสถานการณ์ COVID-19 และยอดขายกลุ่มแฟชั่นที่ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว
อัตรากำไรขั้นต้นจากธุรกิจค้าปลีก
CRC คาดว่าอัตรากำไรขั้นต้นจากธุรกิจค้าปลีกจะขยายตัว
YoY มากกว่าเป้าที่บริษัทวางไว้ก่อนหน้านี้ที่
100-120bps YoY จากยอดขายสินค้าที่ให้มาร์จิ้นสูงในกลุ่มแฟชั่นและกลุ่มฟู้ดที่ฟื้นตัวดีขึ้น
และการปรับส่วนลดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยเริ่มจากกลุ่มแฟชั่นสำหรับผู้หญิง
และวางแผนที่จะนำไปใช้กับสินค้าประเภทอื่นๆ ในกลุ่มแฟชั่นใน 4Q65 และกลุ่มอื่นๆ ในปี 2566
รายได้จากการให้เช่า
มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวจากการให้ส่วนลดค่าเช่าลดลงและอัตราการเช่าพื้นที่ที่สูงขึ้น
โดยคาดว่าอัตราค่าเช่าจะฟื้นตัวสู่ระดับปี 2562 (ก่อนเกิดโควิด) ภายในปีหน้า
ค่าใช้จ่าย SG&A/ยอดขาย CRC ปรับเป้าอัตราส่วนค่าใช้จ่าย SG&A/ยอดขายในปี 2565 ลดลงสู่ระดับต่ำกว่า 28% จากเป้าเดิมที่ 29% (เทียบกับ 26.8% ใน 1H65) บริษัทวางแผนควบคุมการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่าย
SG&A ให้อยู่ที่ระดับ 50% ของการเติบโตของยอดขาย
ด้วยการเพิ่มผลิตภาพของพนักงานและประสิทธิภาพทางการตลาด (ใช้ช่องทางดิจิทัล)
และวางแผนประหยัดต้นทุนพลังงานและโลจิสติกส์มากขึ้น
• ร้านค้ารูปแบบใหม่ในกลุ่มฟู้ดในประเทศไทย
1. Tops CLUB โมเดลร้านค้าปลีกในรูปแบบคลังสินค้าที่ให้บริการในระบบสมาชิกเท่านั้น
ซึ่งคล้ายกับ Costco (มีสาขาทั่วโลก)
และโมเดลธุรกิจ Sam's Club ของ Walmart (สาขาส่วนใหญ่อยู่ในสหรัฐอเมริกา) กลุ่มลูกค้าเป้าหมายคือ คนรุ่นใหม่ ครอบครัว
(B2C) และผู้ค้าปลีกและค้าส่งอาหาร (B2B) โดยจะจำหน่ายสินค้าในราคาที่ถูกมากเป็นพิเศษสำหรับสมาชิกเท่านั้น
และสินค้า 70%
เป็นสินค้านำเข้า
บริษัทวางแผนเปิด
Tops CLUB สาขาแรกในย่านพระราม 2 กรุงเทพฯ ในเดือน ก.ย. พร้อมกับการขายแบบ Omnichannel ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากการเปิดตัวแอปพลิเคชั่น
“Tops CLUB” ในเดือน ก.ค.
บริษัทตั้งเป้าทำยอดขายต่อปีที่ 1 พัน ลบ./สาขา
และตั้งเป้าขยายสาขา 8-10 สาขาภายใน 5 ปีข้างหน้า
2. Go! ไลฟ์สไตล์
ช้อปปิ้งมอลล์ ด้วยการนำเสนอ 5 คอนเซ็ปต์
ภายในร้าน : go! hypermarket, go! WoW (จำหน่ายสินค้าประเภท DIY), go! Power (จำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายแบรนด์), go! playland และศูนย์อาหาร บริษัทตั้งเป้าขนาดร้านไว้ที่ 4,500 ตร.ม. (พื้นที่เช่าสุทธิ 1,800 ตร.ม. และพื้นที่ขายสุทธิ 2,000 ตร.ม.)
วางแผนเปิดสาขาในอำเภอของเมืองรองเพื่อให้บริการกลุ่มครอบครัวในต่างจังหวัดด้วยสินค้าราคาย่อมเยาและปรับให้เข้ากับท้องถิ่น โดยจะเปิดสาขาแรกในนครศรีธรรมราชในเดือน ส.ค. และอีก 3 สาขาในช่วงที่เหลือของปี 2565 โดยทั้งหมดอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย
ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ การเปลี่ยนแปลงในด้านกำลังซื้อและต้นทุนที่สูงขึ้นจากแรงกดดันเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น
บมจ.โฮม
โปรดักส์ เซ็นเตอร์ : HMPRO ราคาเป้าหมาย 18.00 บาท
• SSS เติบโตเร่งตัวขึ้นในร้านค้าทุกรูปแบบใน
3Q65TD SSS ของร้านโฮมโปร (85% ของยอดขาย) พลิกกลับมาเติบโตในระดับ high-teen YoY ใน 3Q65TD (เทียบกับ -1.1% YoY ใน 2Q65) จากฐานต่ำของปีก่อนที่มีสาเหตุมาจากการปิดร้านค้า/พื้นที่ขายสืบเนื่องมาจากการล็อกดาวน์
การจัดงาน Homepro Super Expo ในปีนี้ที่ร้านโฮมโปรทุกสาขาทั่วประเทศระหว่างวันที่ 27-31 ก.ค.
และการฟื้นตัวของยอดขายในพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง
ด้วยฐานต่ำของปีก่อนสืบเนื่องมาจากการล็อกดาวน์
ใน 3Q65TD SSS ของร้านเมกาโฮม (13% ของยอดขาย) จึงพลิกกลับมาเติบโตเป็นตัวเลขหลักเดียวระดับกลาง
YoY (เทียบกับ -5% YoY ใน 2Q65) และ SSS ของร้านโฮมโปรในประเทศมาเลเซีย (2% ของยอดขาย) เพิ่มขึ้นมากกว่า 60% YoY (เทียบกับ +60% YoY ใน 2Q65)
• แผนขยายสาขา HMPRO วางแผนเร่งขยายสาขาในปีนี้
โดยจะเปิดสาขาใหม่ 7 สาขา
(พื้นที่ขายสุทธิจะเพิ่มขึ้น 10%) ซึ่งทั้งหมดจะเปิดใน
2H65: ย้ายสถานที่ตั้งร้านโฮมโปร 1 สาขา และเปิดสาขาใหม่ 6 สาขา ได้แก่ ร้านโฮมโปรใหม่ 1 สาขา และร้านเมกาโฮมใหม่ 5 สาขา
• EBIT Margin กว้างขึ้น
อัตรากำไรขั้นต้น ตั้งเป้าเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 30bps YoY ในปี 2565 โดยได้รับการสนับสนุนจาก 1) สัดส่วนยอดขายสินค้ากลุ่ม Private Brand ที่ให้อัตรากำไรขั้นต้นสูงต่อยอดขายที่เพิ่มขึ้นสู่ 20.5% ในปี 2565 (เทียบกับ 19.5% ในปี 2564 และ 20.5% ใน 1H65); 2) อำนาจต่อรองกับซัพพลายเออร์ที่ดีขึ้นอันเป็นผลมาจากยอดขายที่สูงขึ้นผ่านการรวมคำสั่งซื้อสำหรับร้านโฮมโปรกับร้านเมกาโฮม; 3) การเพิ่มประสิทธิภาพด้านต้นทุนโลจิสติกส์จากการวางแผนจัดซื้อได้ดีขึ้น
อัตราส่วนค่าใช้จ่าย
SG&A/ยอดขาย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น YoY ในปี 2565 (แต่ไม่มากกว่าการเพิ่มขึ้นของอัตรากำไรขั้นต้น)
โดยเกิดจากค่าสาธารณูปโภค ต้นทุนโลจิสติกส์ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ค่าใช้จ่ายด้านการตลาด และค่าแรงที่สูงขึ้น HMPRO บันทึกต้นทุนด้านโลจิสติกส์ 70% ในต้นทุนขาย
(ค่าขนส่งจากศูนย์กระจายสินค้าไปยังร้านค้า; รายได้จากซัพพลายเออร์จะครอบคลุมต้นทุนที่เพิ่มขึ้นทั้งหมด) และ 30% ในค่าใช้จ่าย SG&A (ค่าขนส่งจากร้านค้าไปยังลูกค้า; บริษัทจะรับภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นบางส่วน)
รายได้ค่าเช่าและรายได้อื่น
คาดว่าจะเพิ่มขึ้นไม่เกิน 20% YoY ในปี 2565 อันเป็นผลมาจากการมีพื้นที่ให้เช่ามากขึ้น
ส่วนลดค่าเช่าที่ลดลง และส่วนแบ่งรายได้จากผู้เช่าที่ดีขึ้น
• ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ
การเปลี่ยนแปลงในด้านกำลังซื้อและต้นทุนที่สูงขึ้นจากแรงกดดันเงินเฟ้อ
และอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น
บล.ดีบีเอส
วิคเคอร์ส
แนะหุ้นกลุ่มรถยนต์จีน
เติบโตแกร่ง
DBS Bank มองว่า อุตสาหกรรมรถยนต์ของจีนมีแนวโน้มเติบโตดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2565
โดยกลุ่มที่มีการเติบโตสูงยังเป็นกลุ่มรถพลังงานทางเลือก (New Energy Vehicles, NEV) จากปัจจัยราคาน้ำมันแพง
ส่งให้คนหันมาให้ความสนใจกับรถพลังงานทางเลือกมากขึ้น
ประกอบกับรัฐบาลให้การสนับสนุนตลาดรถดังกล่าว ซึ่ง DBS หยิบยกประเด็นสำคัญสนับสนุนความเชื่อดังกล่าวมี 4 ด้านใหญ่ๆ ด้วยกันคือ
(1) นโยบายรัฐหนุน -
รัฐบาลจีนได้ออกมาตรการกระตุ้นตลาดรถยนต์หลายด้านด้วยกัน
เช่นการประกาศลดภาษีซื้อรถยนต์ สำหรับกลุ่มที่ราคาไม่เกิน RMB 300k โดยเป็นการลดเหลือ 5% จากเดิม 10% ซึ่งส่งให้ยอดขายรถยนต์บุคคลฟื้นตัวแรงตั้งแต่นโยบายนี้มีผลในเดือน มิ.ย.
2565 และยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อ
นอกจากนี้แล้ว รัฐบาลยังเพิ่มมาตรการให้เงินอุดหนุนรถพลังงานทางเลือก (New Energy Vehicles, NEV) สูงถึง RMB 10,000
สำหรับการซื้อรถใหม่หรือการเปลี่ยนรถยนต์ของผู้บริโภค
และในอีกด้านหนึ่ง รัฐบาลยังมีการเตรียมออกมาตรการหนุนตลาดรถมือสอง
ด้วยการยกเลิกข้อจำกัดในการโอนรถมือสองข้ามพื้นที่
ซึ่งจะทำให้ตลาดมีความคล่องตัวมากขึ้น
ส่งให้ผู้บริโภคตัดสินใจเปลี่ยนรถได้ง่ายขึ้นเพราะมีตลาดรถมือสองรองรับ
(2) ธุรกิจฟื้นตัวหลัง Lockdown - หลังจากปัญหาการถูก Lockdown ในช่วงครึ่งแรกของปีซึ่งกระทบผู้บริโภคและธุรกิจในวงกว้าง
โดยหลังรัฐบาลผ่อนคลายมาตรการคุมการระบาดนั้น ดีลเลอร์รถต่างๆ
ก็เริ่มทำการส่งมอบรถยนต์คงค้างตามออร์เดอร์ในมือ
ทำให้กิจกรรมการซื้อขายรถยนต์กลับมาเป็นปกติมากขึ้น
(3) คาดเศรษฐกิจมีเสถียรภาพดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง
2565 - รัฐบาลจีนได้ออกมาตรการต่างๆอย่างต่อเนื่องเพื่อหนุนเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวในวงกว้าง
หลังจากที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดในช่วงครึ่งแรกของปี
มาตรการการเงินยังคงเป็นแนวผ่อนคลายสวนทางกับประเทศอื่นที่ใช้นโยบายเข้มงวด
เช่นสหรัฐ ยุโรป เป็นต้น มาตรการการคลังเป็นแบบขยายตัวเพื่อพลิกฟื้นเศรษฐกิจ
ในขณะที่สถานการณ์ Supply Chain ปรับตัวดีขึ้นและราคาโภคภัณฑ์ต่างๆ เริ่มปรับลดลง
ส่วนภาคอสังหาฯแม้ว่าจะยังคงมีปัญหาในหลายๆ
จุด แต่รัฐบาลก็พยายามเร่งแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนเพื่อไม่ให้ปัญหาลุกลามออกไป
ดังนั้น ในภาพรวมเชื่อว่าแนวโน้มเศรษฐกิจครึ่งปีหลังมีแนวโน้มดีกว่าครึ่งปีแรก
ซึ่งถูกกระทบหนักจากมาตรการ lockdown และปัญหา Supply Chain Disruption
(4) มีการเร่งสะสมสินค้าคงคลัง -
ในอุตสาหกรรมรถยนต์จีนนั้น ผู้ผลิตรถยนต์ได้มีการเร่งการผลิตมากขึ้น
เพราะระดับสินค้าคงคลังของดีลเลอร์รถอยู่ในระดับต่ำ ส่วนดีมานด์กำลังฟื้นตัวแรง
ในขณะเดียวกัน ผู้ผลิตรถยนต์ค่ายต่างๆ ก็มีแผนเปิดตัวโมเดลรถใหม่ๆ เพิ่มขึ้น
ซึ่งก็จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญส่งให้ตลาดรถยนต์จีนฟื้นตัวได้ดีในช่วงครึ่งปีหลัง
• ปัจจัยเสี่ยงที่อาจมากระทบตลาดรถยนต์จีน
คือ ราคาวัตถุดิบในการผลิตที่สูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่ม EV และในอุตสาหกรรมรถยนต์ยังมีปัญหาด้าน Supply Chain คงเหลืออยู่ในหลายส่วน
เช่นการขาดแคลนชิปที่ใช้ในรถยนต์เป็นต้น สำหรับในภาพใหญ่
ก็ยังมีความเสี่ยงของการระบาดซ้ำ
หรือปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่อาจบานปลายมากขึ้นและกระทบความมั่นใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ก็ได้
โดยข้อมูลในอดีตชี้ว่า
ตลาดอสังหาฯที่ไม่ดีในจีน อาจเป็นลบต่อ Sentiment ผู้บริโภค แต่มักจะกระทบในตลาดล่างมากกว่า
เพราะเป็นกลุ่มที่มีความอ่อนไหวสูง แต่ตลาดรถยนต์ระดับกลางถึงระดับบน
ยังมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี
• ทิศทางลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรมย่อย
แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่
ดังนี้
(1) กลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ (Automakers) : DBS แนะนำให้เน้นผู้ผลิตที่จับตลาดรถยนต์พลังงานทางเลือก
(NEV) ซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวสูงและอยู่ในความต้องการของผู้บริโภค
เราคาดว่ากำไรปี 2565
จะขยายตัวประมาณ 20-30%
โดยใช้ตัวเลขจากหุ้นบริษัทผลิตรถยนต์ที่ DBS ทำการติดตาม ซึ่งไม่ใช่ตัวเลขภาพรวมของอุตสาหกรรม
นอกจากนี้ หุ้นกลุ่มนี้ยังมีราคาไม่แพง ซื้อขายกันปี PE 2565 ประมาณ 4-16x
โดยในกลุ่มนี้
หุ้น BYD อาจได้รับผลกระทบทางลบจากความกังวลของนักลงทุนว่า
บริษัท Berkshire อาจทำการขายหุ้น BYD ที่ถืออยู่ออกมา
เพราะหุ้นเริ่มแพงแล้ว
ในขณะที่มีโอกาสที่นักลงทุนจะโยกเงินออกไปซื้อหุ้นบริษัทอื่นที่ราคาถูกกว่าก็ได้
(2) กลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ (Auto Parts) : กลุ่มนี้จะได้ประโยชน์จากอุตสาหกรรมรถยนต์โลกที่ฟื้นตัว
โดยในขณะนี้อุตสาหกรรมรถยนต์โลกได้ฟื้นตัวมาได้ประมาณ 80% ของช่วงก่อนวิกฤติ Covid ไปแล้ว ในขณะที่ปัญหา Supply Chain ของอุตสาหกรรมรถยนต์เริ่มดีขึ้น ราคาเซมิคอนดักเตอร์เริ่มลดลง
ราคาเหล็กและอะลูมิเนียมเริ่มลดลง ในขณะที่ราคาขนส่ง (Shipping Freight Rates) ซึ่งกำลังปรับตัวลดลงจะช่วยตลาดส่งออก
ดังนั้น เหล่านี้จึงเป็นปัจจัยหนุนการฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลัง กลุ่มนี้ซื้อขายที่
PE 2565 ประมาณ 8-22x
(3) กลุ่มดีลเลอร์รถยนต์ (Auto Dealership) : กลุ่มนี้ได้ประโยชน์จากการลดภาษีของรัฐบาลจีน
โดยเฉพาะการลดภาษีซื้อ ซึ่งเป็นบวกกับรถยนต์กลุ่ม high-end และระดับพรีเมียม สำหรับในกลุ่มนี้
ความท้าทายคือ Supply รถไม่พอขาย
ทำให้ผู้ซื้ออาจต้องรอรถเป็นเวลานาน ทำให้เกิดการสูญเสียโอกาสในการสร้างรายได้
และในกรณีเลวร้ายคือในกรณีที่จีนมีการระบาดซ้ำอีกในช่วงครึ่งปีหลัง
ซึ่งอาจนำไปสู่การ Lockdown ในวงกว้างอีกรอบหนึ่ง กลุ่มนี้ซื้อขายกันที่ PE 2565 ประมาณ 2-13x
• หุ้นเด่น ได้แก่
(1) BYD (1211 HK; BUY,
target price HK$380.0)
(2) Guangzhou Auto
(2238 HK; BUY, target price HK$9.0)
(3) Great Wall Motor
(2333 HK; BUY, target price HK$24.0)
(4) Geely Auto (175
HK; BUY, target HK$20.0)
• ความเสี่ยง –
การลงทุนในอุตสาหกรรมเฉพาะ มีความเสี่ยงกว่าตลาดโดยรวม การลงทุนในต่างประเทศ
มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนและกฎเกณฑ์ทางการที่อาจเปลี่ยนไป
มีความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจของประเทศที่เราเข้าไปลงทุน เป็นต้น
แนะนำให้กระจายความเสี่ยงจากการลงทุนด้วยการกระจายหุ้น/ทรัพย์สินในพอร์ตให้เหมาะสมกับความเสี่ยงของแต่ละบุคคล